http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm ได้รวบรวมข้อมูลและกล่าวว่า
ทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้
อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญาและการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน
ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ
ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา
แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม
จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป
การทบทวนบทบาทของครู ควรเริ่มจากการทบทวนและปรับแต่งความคิด
ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของการเรียน โดยต้องถือว่า แก่นแท้ของการเรียนคือการเรียนรู้ของผู้เรียน
ต้องเปลี่ยนจากการยึดวิชาเป็นตัวตั้ง มาเป็นยึดมนุษย์หรือผู้เรียนเป็นตัวตั้ง
หรือที่เรียกว่า ผู้เรียนเป็นสำคัญ
ครูต้องคำนึงถึงหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นสำคัญ
ถ้าจะเปรียบการทำงานของครูกับแพทย์คงไม่ต่างกันมากนัก แพทย์มีหน้าที่บำบัดรักษาอาการป่วยไข้ของผู้ป่วย
ด้วยการวิเคราะห์ วินิจฉัยอาการของผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกัน
แล้วจัดการบำบัดด้วยการใช้ยาหรือการปฏิบัติอื่น ๆ ที่แตกต่างกัน
วิธีการรักษาแบบหนึ่งแบบใดคงจะใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยทุกคนเหมือน ๆ กันไม่ได้
นอกจากจะมีอาการป่วยแบบเดียวกัน ในทำนองเดียวกัน
ครูก็จำเป็นต้องทำความเข้าใจและศึกษาให้รู้ข้อมูล
อันเป็นความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน และหาวิธีสอนที่เหมาะสม
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่
เพื่อพัฒนาผู้เรียนแต่ละคนนั้นให้บรรลุถึงศักยภาพสูงสุดที่มีอยู่
และจากข้อมูลที่เป็นวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนอีกประการหนึ่ง คือ
การจัดการศึกษาที่ไม่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาปฏิบัติในชีวิตจริง
ทำให้ไม่เกิดการเรียนรู้ที่ยั่งยืน
ครูจึงต้องหันมาทบทวนบทบาทและหน้าที่ที่จะต้องแก้ไข โดยต้องตระหนักว่า
คุณค่าของการเรียนรู้คือการได้นำสิ่งที่เรียนรู้มานั้นไปปฏิบัติให้เกิดผลด้วย
ดังนั้นหลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จึงมีสาระที่สำคัญ 2 ประการคือ การจัดการโดยคำนึงถึงความแตกต่างของ ผู้เรียน
และการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้นำเอาสิ่งที่เรียนรู้ไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองไปสู่ศักยภาพสูงสุดที่แต่ละคนจะมีและเป็นได้
ส่วนเทคนิค วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จะได้กล่าวในตอนต่อไป
http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126 ได้รวบรวมข้อมูลและกล่าวว่า
แต่เดิมแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนเป็นการยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง (Techer-centered) โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนดเนื้อหาและวิธีการเรียนการสอนเอง
ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงการบรรยายหน้าชั้นเรียนเท่านั้น
ต่อมานักการศึกษาเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวไม่ได้เอื้อต่อเกิดการพัฒนาผู้เรียนอย่างแท้จริง
เพราะไม่ใช่วิธีการที่ตอบสนองต่อความต้องการหรือลักษณะของผู้เรียน การศึกษาควรให้ความสำคัญกับ “การเรียน” มากกว่า “การสอน”
แนวคิดของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(Learner-centered,
Student-centred หรือ Child-centered) จึงเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่เปลี่ยนมายึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
โดยมีหลักการว่ากระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้
และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน
มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้
มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา
สรุปลักษณะของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(ดัดแปลงจาก อาภรณ์ ใจเที่ยง เข้าถึงได้จาก http://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm)
1. Active
Learning เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำหรือปฏิบัติด้วยตนเองด้วยความกระตือรือร้น
เช่น ได้คิด ค้นคว้า ทดลองรายงาน ทำโครงการ สัมภาษณ์ แก้ปัญหา ฯลฯ
ได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง
ผู้สอนทำหน้าที่เตรียมการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ จัดสื่อสิ่งเร้าเสริมแรงให้คำปรึกษาและสรุปสาระการเรียนรู้ร่วมกัน
2. Construct เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง
ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
รวมทั้งทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้
เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ซึ่งนำไปสู่การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (Learning
Man) ที่พึงประสงค์
3. Resource เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ที่หลากหลายทั้งบุคคลและเครื่องมือทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
ผู้เรียนได้สัมผัสและสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นมนุษย์ (เช่น ชุมชน
ครอบครัว องค์กรต่างๆ) ธรรมชาติและเทคโนโลยี ตามหลักการที่ว่า “การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลาและทุกสถานการณ์)”
4. Thinking เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิด ผู้เรียนได้ฝึกวิธีคิดในหลายลักษณะ
เช่น คิดคล่อง คิดหลากหลาย คิดละเอียด คิดชัดเจน คิดถูก ทางคิดกว้าง คิดลึกซึ้ง
คิดไกล คิดอย่างมีเหตุผล เป็นต้น การฝึกให้ผู้เรียนได้คิดอยู่เสมอในลักษณะต่างๆ
จะทำให้ผู้เรียนเป็นคนคิดเป็น แก้ปัญหาเป็น คิดอย่างรอบคอบมีเหตุผล มีวิจารณญาณ
ในการคิด มีความคิดสร้างสรรค์
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่จะเลือกรับและปฏิเสธข้อมูล ข่าวสารต่างๆ
ได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นออกได้อย่างชัดเจนและมี เหตุผลอันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตประจำวัน
5. Happiness เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นความสุขที่เกิดจาก 1) ผู้เรียนได้เรียนในสิ่งที่ตนชอบหรือสนใจ ทำให้เกิดแรงจูงใจในการใฝ่รู้
ท้าทาย อยากค้นคว้า อยากแสดงความสามารถและให้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ 2) การมีปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน
มีลักษณะเป็นกัลยาณมิตร มีการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
มีกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกัน ทำให้ผู้เรียนรู้สึกมีความสุขและสนุกกับการเรียน
6. Participation เป็นกิจกรรมที่เน้นการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ตั้งแต่การวางแผนกำหนดงาน
วางเป้าหมายร่วมกัน
และมีโอกาสเลือกทำงานหรือศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับความถนัดความสามารถ
ความสนใจ ของตนเอง ทำให้ผู้เรียนเรียนด้วยความกระตือรือร้น
มองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนและสามารถ ประยุกต์ความรู้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริง
7. Individualization เป็นกิจกรรมที่ผู้สอนให้ความสำคัญแก่ผู้เรียนในความเป็นเอกัตบุคคล
ผู้สอนต้องยอมรับในความสามารถ ความคิดเห็น ความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน
มุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพมากกว่าเปรียบเทียบแข่งขันระหว่างกันโดยมีความเชื่อมั่นผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้
และมีวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน
8. Good
Habit เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะนิสัยที่ดีงาม
เช่น ความรับผิดชอบ ความเมตตา กรุณา ความมีน้ำใจ ความขยัน ความมีระเบียบวินัย
ความเสียสละ ฯลฯ และ
ลักษณะนิสัยในการทำงานอย่างเป็นกระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่น การยอมรับผู้อื่น
และ การเห็นคุณค่าของงาน เป็นต้น
9. Self
Evaluation เป็นกิจกรรมที่เน้นการประเมินตนเอง
เดิมผู้สอนเป็นผู้ประเมินฝ่ายเดียว
แต่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนประเมินตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเองได้ชัดเจนขึ้น
รุ้จุดเด่นจุดด้อยและพร้อมที่จะปรับปรุงหรือพัฒนาตนเองให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
การประเมินในส่วนนี้เป็นการประเมินตามสภาพจริงและอาจใช้แฟ้มสะสมผลงานช่วย
บทบาทของครูผู้สอน
บทบาทของครูผู้สอนในการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญจะไม่เป็นผู้ชี้นำหรือผู้ออกคำสั่งแต่จะเปลี่ยนเป็นผู้กระตุ้น
ผู้อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำช่วยเหลือเมื่อจำเป็น ติดตามตรวจสอบ
รวมทั้งให้การสนับสนุนด้านอุปกรณ์การเรียนรู้ เช่น แหล่งข้อมูล เทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่เป็นสื่อการเรียนรู้รูปแบบต่างๆ เว็บไซด์ อีเมล์ ฯลฯ
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูสมัยใหม่กับครูสมัยเก่าก็จะเห็นความแตกต่าง
ดังนี้ (อาภรณ์ ใจเที่ยง เข้าถึงได้จากhttp://www.sut.ac.th/tedu/news/Teaching.htm)
ตัวอย่างของรูปแบบหรือเทคนิคการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
§ การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem-based Learning)
§ การเรียนที่ใช้การวิจัยเป็นฐาน
(Research–based Learning)
§ การเรียนแบบโครงงาน
(Project-based Learning)
§ การจัดการเรียนการสอนแบบสืบค้น
(Inquiry Instruction)
§ การเรียนแบบร่วมมือ
(Cooperative/Collaborative Learning)
§ การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI) หรือสื่อเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง
§ การใช้เครื่องมือทางปัญญา
(Cognitive Tools)
§ เทคนิคการใช้ Concept
Mapping
§ เทคนิคการใช้ Learning
Contracts
§ เทคนิคบทบาทสมมติ
(Role Playing Model)
§ เทคนิคหมวก 6 ใบ
§ เทคนิคการเรียนการสอนแบบจิ๊กซอร์(Jigsaw) ฯลฯ
http://etcserv.pnru.ac.th/datas/file/KM09/jovaxylidu.pdf
ได้รวบรวมและกล่าวถึง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญว่า การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือ วิธีการสำคัญที่สามารถสร้างและพัฒนาผู้เรียน ให้เกิดคุณลักษณะต่างๆ
ที่ต้องการในยุคโลกาภิวัตน์
เนื่องจากเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับผู้เรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง เรียนในเรื่องที่สอดคล้องกับความสามารถและความต้องการของตนเองและได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
ซึ่งแนวคิด การ
จัดการศึกษานี้เป็นแนวคิดที่มีรากฐานจากปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการเรียนรู้ต่าง ๆ
ที่ได้พัฒนามาอย่าง ต่อเนื่องยาวนาน และเป็นแนวทางที่ได้รับการพิสูจน์ว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามต้องการอย่างได้ผล
(วัฒนาพร ระงับทุกข์. 2542)
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนี้
ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้ผู้เรียนมี ความรับผิดชอบและมีส่วนร่วมต่อการเรียนรู้ของตนเอง
ซึ่งแนวคิดแบบผู้เรียนเป็นสำคัญจะยึดการศึกษาแบบก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนแต่ละคนมีคุณค่าสมควรได้รับการเชื่อถือไว้วางใจ
แนวทางนี้จึงเป็นแนวทางที่จะ ผลักดันผู้เรียนไปสู่การบรรลุศักยภาพของตน
โดยส่งเสริมความคิดของผู้เรียนและอำนวยความสะดวกให้เขาได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบใหม่ที่มีลักษณะแตกต่างจากการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิมทั่วไป
จากข้างต้นสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนต้องเน้นให้ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้
และพัฒนาความรู้ได้ตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพของตนเอง
รวมทั้งสนับสนุนให้มีการฝึกและปฏิบัติในสภาพจริงของการทำงาน
มีการเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสังคมและการประยุกต์ใช้
มีการจัดกิจกรรมและกระบวนการให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์
ประเมินและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ โดยไม่เน้นไปที่การท่องจำเพียงเนื้อหา
อ้างอิง
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ChildCent/Child_Center1.htm .การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ Child Center. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=126 .การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เข้าถึงเมื่อ
17 กันยายน 2558.
http://etcserv.pnru.ac.th/datas/file/KM09/jovaxylidu.pdf
.การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน
2558.
|
068 Navapol Phunthukulratana
วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การเรียนรู้แบบรวม
การเรียนร่วม หมายถึงการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
มีการร่วมกิจกรรมและใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษและเด็กพิการกับเด็กทั่วไป
การจัดการเรียนร่วม เป็นการจัดการศึกษาให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
มีโอกาสเข้าไปในระบบการศึกษาปกติ โดยเปิดโอกาสให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
ได้เรียนและทำกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไป
โดยมีครูทั่วไปและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือและ รับผิดชอบร่วมกัน (Collaboration)
และการจัดการเรียนร่วม อาจกระทำได้หลายลักษณะ
วิธีการจัดการเรียนร่วม ซึ่งปฏิบัติกันอยู่ในหลายประเทศและประสบความสำเร็จ
ซึ่งมีรูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน รูปแบบการจัดเรียนร่วม
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ
https://www.gotoknow.org/posts/548117 ได้รวบรวมและกล่าวถึง
การศึกษาแบบเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง
การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก
หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ
จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ
จะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
ได้กล่าวถึงความหมายและความสำคัญของการเรียนรวม
การศึกษาแบบเรียนรวม คือ การศึกษาสำหรับ ทุกคนโดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา และจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
และมีนักการศึกษาต่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของการศึกษาแบบเรียนรวม ว่าหมายถึง
การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก นั่นคือ การสอนที่ดี
เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
โดยการสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ให้กับชุมชนและโรงเรียน
การอยู่รวมกันจึงมีความหมายรวมไปถึงกิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี
ซึ่งเป็นการคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ
ทาง จากความหมายดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ
หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้
และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ “รวมกัน “ ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
การเรียนรวมมีความสำคัญ คือ
เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน
ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้ และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า
และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด
และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก
หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
จากข้างต้นสรุปได้ว่าการศึกษาแบบเรียนรวม
หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก
หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน
แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ
จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
รูปแบบการจัดเรียนร่วมได้ 6 รูปแบบ ดังนี้
1. ชั้นเรียนปกติเต็มวัน
รูปแบบการจัดเรียนร่วม
2. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
3. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
4. ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
5. ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
6. ชั้นเรียนพิเศษใน
โรงเรียนปกติ
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
ความแตกต่างจากรูปแบบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษและเด็กปกติคือ
จะต้องถือหลักการดังนี้
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
• เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
• โรงเรียนจะต้องปรับสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ทุกด้านเพื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
• โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
• โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
การเรียนรวมมีความสำคัญ
คือ
เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนรวมกับเด็กทั่วไปในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปเป็นการเสนอให้นักการศึกษาพิจารณาคำถึงคุณค่าของการพัฒนาชีวิตคน
ซึ่งจะต้องได้รับการพัฒนาทุกด้านของวิถีแห่งชีวิต เพื่อให้มีความสามารถ ความรู้
และทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างเป็นสุขและมีคุณค่า
และยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่กลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้ได้รับการศึกษาเพิ่มขึ้น
เพราะการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการประหยัด
และไม่ต้องรอคอยงบประมาณในการจัดซื้อที่ดิน
การก่อสร้างอาคารเรียนซึ่งต้องสิ้นเปลืองเงินงบประมาณจำนวนมาก
หากแต่จัดให้เด็กพิเศษได้แทรกเข้าไปเรียนในชั้นเรียนของโรงเรียนทั่วไปในระดับปฐมวัย
ประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
อ้างอิง
จินตหรา เขาวงค์.[Online]. http://khaowongmsu.blogspot.com/2010/10/blog-post.html.การเรียนรวมและการเรียนร่วม. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
การประเมินผลการเรียนรู้
ยุพิน พิพิธกุล (ม.ป.ป.: 118-120) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า ในการประเมินผลนั้น ย่อมมีวิธีการต่างๆ กันไปแล้วแต่โรงเรียนจะกำหนด ถึงในปัจจุบันมีคะแนนงานระหว่างปี ครูอาจจะประเมินผลด้วยการออกข้อทดสอบ การตรวจแบบฝึกหัด การให้งานมอบหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นเทคนิคของครุแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามทุกโรงเรียนจะต้องมีการสอบ ดังนั้นก่อนที่จะสอบครูจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เสียก่อนว่า ครูจะประเมินผลอย่างไร และเมื่อไร โรงเรียนย่อมจัดการสอนตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนมากก็จะมีการสอบปลายภาค และสอบปลายปีการศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงการประเมินเมื่อไรและอย่างไร ขอแบ่งการประเมินผลออกเป็น 2 ประการ ดังนี้
1. การประเมินผลย่อย (Formative evaluation)
2. การประเมินผลรวม (Summative evaluation)
การประเมินผลย่อย ลักษณะของการประเมินผลย่อย มีดังนี้
1. เป็นการแบ่งวิชาออกเป็นหน่อยย่อยหลายๆหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยอาจใช้เวลาเรียน 1-2สัปดาห์ แต่ละหน่วยนั้นอาจเป็นบทเรียนบทหนึ่ง
เมื่อจบตอนแล้วก็มีการออกข้อทดสอบย่อย
2. จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการประเมินผลย่อย
ไม่ใช่การใช้เกรดที่จะไปตัดสินได้ตกหรือเกี่ยวกับการเลื่อนชั้น
แต่ควรจะเป็นการช่วยนักเรียนและครูปรับปรุงการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงการประเมินผลย่อยนี้กระทำในระหว่างที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่
และควรทำต่อเนื่องกันไปโดยสม่ำเสมอ เมื่อพบข้อบกพร่องตอนใดก็แก้ไขได้ทันท่วงที
3. ควรจะสร้างแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นระยะๆ
เพื่อตรวจดูว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด
และเมื่อรู้ข้อบกพร่องคราวต่อไปก็ควรจะได้ชี้แจงหรืออธิบายเพิ่มเติม
4. การทดสอบย่อย ควรจะได้กระทำก่อนที่จะสอนใหม่ หรือควรจะทดลอบเกี่ยวกับทักษะ
และความคิดรวบยอดในด้านต่างๆ ก่อนที่จะมีการทดสอบรวม
5. การทดสอบย่อย
เป็นประโยชน์ในการที่จะรวบรวมผลและข้อบกพร่องต่างๆไว้ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรใหม่
6. ผู้ที่ใช้การประเมินผลแบบนี้ ควรจะตรวจดูว่าผลของการประเมินตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้หรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม
การออกข้อสอบแต่ละหน่วยหรือบทนั้นอาจจะวัดพฤติกรรมไม่ได้ครบทุกอย่าง
7. การประเมินผลย่อมจะเป็นเครื่องช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการแข่งขัน
และเรียนด้วยความตั้งใจอยู่เสมอ
8. การประเมินผลย่อยจะช่วยนักเรียนได้มาก
เพราะเป็นการแบ่งขั้นการเรียนรู้ออกเป็นหน่วยย่อยตามลำดับ
จะทำให้นักเรียนเลิกวิตกกังวล
เพราะเมื่อนักเรียนไม่ทราบตรงจุดไหนครูก็อธิบายเพิ่มเติมหรือทบทวนเสียก่อน
9. การประเมินผลย่อยมิได้มุ่งแบ่งแยกนักเรียน แต่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
10. ในการสร้างข้อทดสอบย่อยนั้น ไม่ต้องการความรู้ใหม่
หรือทักษะที่ผิดปกติอย่างใด
แต่จะเป็นการสร้างคำถามที่เรียงตามลำดับความสำคัญของพฤติกรรมการเรียนรู้และตามลำดับการสอนของครู
การประเมินผลรวม ลักษณะของการประเมินผลรวม มีดังนี้
1. เป็นการประเมินผลรวมทั้งหมดของหลักสูตร
หรือเมื่อจบวิชาหนึ่ง ใช้ในการสอบไล่เพื่อเลื่อนชั้น หรือให้ประกาศนียบัตร
เป็นการประเมินคำที่ใช้ตอนสิ้นเทอมหรือปลายปี หรือเรียนครบวิชา ครบโปรแกรม
ใช้ประเมินผลความก้าวหน้าหรือวินิจฉัยเกี่ยวกับผลของหลักสูตรหรือผลของการศึกษา
หรือโครงการแห่งการศึกษา เป็นการประเมินผลเมื่อการเรียนการสอนสิ้นสุดลงแล้ว
2. จุดมุ่งหมายของการประเมินผลรวม คือ
ให้มีการทดสอบรวมและให้คะแนนเพื่อนำไปตัดสินการได้ตกหรือเลื่อนชั้นนักเรียน
3. การประเมินผลรวมนี้ใช้เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ตลอดปี
หรือตลอดเทอมของนักเรียนเป็นรายบุคคล
4. การประเมินผลรวม จะมีการทดสอบสองหรือสามครั้งในแต่ละวิชา
ซึ่งโดยปกติมักจะทำปลายภาคปละปลายปี
5. การประเมินผลรวมนี้ใช้ในการพิจารณาเริ่มต้นการสอนของวิชาที่จะสอนสืบต่อกันไป
6. การประเมินผลรวม มุ่งในการวัดผลทั่วๆไป
ทั้งวิชาจะประเมินผลได้อย่างกว้างขวาง
และวัดพฤติกรรมต่างๆได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
เอกศักดิ์
บุตรลับ (2537 : 389 – 395) ได้รวบรวมเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ดังนี้
การประเมินผล
(Evaluation)
กรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ (2522 : 1) ให้ความหมายไว้ว่า
การประเมินผล หมายถึงกระบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดว่า
เป็นที่ต้องประสงค์หรือมีค่านิยมถูกต้องหรือไม่มากน้อยเพียงใด
การประเมินผลจำเป็นต้องมีเป้าหมายหรือเกณฑ์ไว้ก่อนแล้ว
จึงนำข้อมูลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินในทิศทางตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2521
:6) กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล
และวินิจฉัย ตัดสิน สรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดอย่างมีหลักเกณฑ์
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
และอเนกกุล กรีแสง (2517 : 7) ให้ความหมายการประเมินผลเป็นการใช้ วิจารณญาณตัดสินคุณค่า
โดยอาศัยการวัดผลเป็นเครื่องช่วย
จุดประสงค์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ในการวัดผลและประเมินผลการศึกษานั้น
มีจุดประสงค์ที่สำคัญดังนี้ (ลำพอง บุญช่วย ม.ป.ป. :214-215)
1. เพื่อการคัดเลือก (Selecion) การพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียน
ต้องอาศัยการวัดผลและประเมินผลกรรมเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด
2. เพื่อจำแนกบุคคล (Classification) การจำแนกบุคคลออกเป็นพวกเก่งอ่อน สอบได้ สอบตก หรือการให้เกรดเป็น A
B C D E ก็ต้องอาศัยการวัดผลประเมินผลทั้งสิ้น
3. เพื่อวินิจฉัย (Diagnosis) การวัดผลและประเมินผลจะช่วยให้ครูสามารถวินิจฉัยได้ว่า เด็กคนใดเก่ง
อ่อนด้านใด ซึ่งทำให้มองเห็นวิธีแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆได้
4. เพื่อประเมินความก้าวหน้า (Assessment) การที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมไปจากเดิมหรือไม่
เพียงใดนั้น จำเป็นต้องอาศัยการวัดผลประเมินผลเป็นเครื่องชี้
โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดู
ก็จะทำให้ทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนได้
5. เพื่อทำนาย (Prediction) การวัดผลและประเมินผลช่วยให้ได้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับผู้เรียน
ซึ่งสามารถนำมาประกอบในการพิจารราว่า นักเรียนคนใดควรเรียนอะไร ได้ดีในอนาคต
ซึ่งจำเป็นสำหรับการแนะแนวเป็นอย่างยิ่ง
6. เพื่อจูงใจในการเรียนรู้ (Motivating Learning) การวัดผลและประเมินผลเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
เกิดความพยายาม โดยเฉพาะเมื่อมีการทดสอบแล้ว
ผู้เรียนได้ทราบผลการสอบของตนย่อมทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน
7. เพื่อประเมินวิธีการสอนของครู (Evaluation of Treatment) การวัดผลและประเมินผลที่ดีจะต้องวัดผลทั้งตัวผู้เรียนและตัวครู
ทั้งนี้เพราะการที่ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จ
อาจเกิดจากวิธีการสอนของครูที่ใช้ไม่ดี วัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะสม
ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลวิธีการสอนของครูจึงมีความจำเป็น
8. เพื่อรักษามาตรฐาน (Maintaining Standard) ในการผลิตกำลังคนของสถาบันต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพ
วิธีการอันหนึ่งที่จะใช้ในการรักษามาตรฐานก็ได้แก่ การวัดผลและประเมินผลนั่นเอง
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ
คือ (กรมสามัญศึกษา 2522 :8)
1. การประเมินผลช่วยการตัดสินใจในด้านการเรียนการสอน ผลที่ได้จากกระบวนการวัดผลและประเมินผล
จะเป็นข้อมูลย้อนกลับที่นำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
2. การประเมินผลช่วยตัดสินใจในด้านการแนะแนว ปกตินักเรียนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ
การเลือกอาชีพ และปัญหาส่วนตัวอยู่เสมอ ซึ่งการวัดผลจะช่วยในเรื่องนี้ได้
ด้วยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ
3. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการบริหาร การประเมินผลการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า
ควรจะแก้ไขปรับปรุงกลไกการบริหารงานของสถานศึกษาอย่างไร
4. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการวิจัย การวิจัยในด้านการเรียนการสอน
การแนะแนวและการบริหาร ย่อมต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการวัดผลและประเมินผล
หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยได้ด้วย
ประเภทของการประเมินผล
การจำแนกประเภทของการประเมินผลนั้น
จะจำแนกออกเป็นกี่ประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง โดยทั่วๆ
ไปแล้วมีเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทของการประเมินผลอยู่ 2 เกณฑ์
1. จุดประสงค์ของการประเมินผล แบ่งออกได้เป็น
1.1 การประเมินผล เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน (Formative
Evaluation)
1.2 การประเมิล เพื่อตัดสินผลการเรียน (Summative
Evaluation)
2. จำแนกตามระบบการวัดผล แบ่งออกได้เป็น
2.1 การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-referenced
Evaluation)
2.2 การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-referenced
Evaluation)
ความหมายของการวัดผล
การทดสอบ และการประเมินผล
การวัดผลการ
(Measurement) หมายถึง
กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง)วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
การทดสอบการศึกษา
หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล
โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล
(Evaluation) หมายถึง การตัดสิน
หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม.
ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมากผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา
บลูม
(Bloom) และคณะ
ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(วัดด้านการปฏิบัติ)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร
แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย
หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง
หมายถึง
การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า
ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์
หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล
หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน
หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
มาตราการวัด
1. มาตรานามบัญญัติ
เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ
หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้
แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่นการจำแนกคนเป็นเพศหญิง-ชาย
หมายเลขโทรศัพท์ ทะเบียนรถ
2. มาตราเรียงอันดับ
สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย
สูง-ต่ำดี-ชั่ว
3. มาตราอันตรภาค
สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส
4. มาตราสัดส่วน
เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร
หรือเริ่มต้นจาก 0เช่น ความสูง 0 นิ้ว ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม
ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า
นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม
การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ
อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด
เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด
และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ความหมายของการวัดผล
การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ ( Measurement)หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์
เช่น นายแดงสูง 180 ซม . ( เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง ) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก .
ก ( เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง ) การทดสอบการศึกษา หมายถึง
กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล
โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล
( Evaluation) หมายถึง การตัดสิน
หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180
ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก
. ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา – ไม่เอา
ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1.
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง )
2.
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ )
3.
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1.
วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง
การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร
แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญ
งอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2.
วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3.
วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง
การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า
ใครควรได้อันที่ 1 2 3
วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต 6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน
หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
สรุปได้ว่า การประเมินผลเป็นขบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดผลว่า สิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน สอบได้หรือสอบตก เป็นต้น การวัดผลการ ( Measurement)หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1. วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง )
2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ )
3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ คือ (กรมสามัญศึกษา 2522 :8)
1. การประเมินผลช่วยการตัดสินใจในด้านการเรียนการสอน ผลที่ได้จากกระบวนการวัดผลและประเมินผล จะเป็นข้อมูลย้อนกลับที่นำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
2. การประเมินผลช่วยตัดสินใจในด้านการแนะแนว ปกตินักเรียนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ การเลือกอาชีพ และปัญหาส่วนตัวอยู่เสมอ ซึ่งการวัดผลจะช่วยในเรื่องนี้ได้ ด้วยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ
3. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการบริหาร การประเมินผลการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า ควรจะแก้ไขปรับปรุงกลไกการบริหารงานของสถานศึกษาอย่างไร
4. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการวิจัย การวิจัยในด้านการเรียนการสอน การแนะแนวและการบริหาร ย่อมต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการวัดผลและประเมินผล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยได้ด้วย
ประเภทของการประเมินผล
อ้างอิง
http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840. การประเมินผลการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
ยุพิน
พิพิธกุล. (ม.ป.ป.). การสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์.
เอกศักดิ์ บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เพชรบุรี : สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)