ยุพิน พิพิธกุล (ม.ป.ป.: 118-120) ได้กล่าวถึงการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ว่า ในการประเมินผลนั้น ย่อมมีวิธีการต่างๆ กันไปแล้วแต่โรงเรียนจะกำหนด ถึงในปัจจุบันมีคะแนนงานระหว่างปี ครูอาจจะประเมินผลด้วยการออกข้อทดสอบ การตรวจแบบฝึกหัด การให้งานมอบหมาย ฯลฯ ซึ่งเป็นเทคนิคของครุแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตามทุกโรงเรียนจะต้องมีการสอบ ดังนั้นก่อนที่จะสอบครูจะต้องตั้งวัตถุประสงค์เสียก่อนว่า ครูจะประเมินผลอย่างไร และเมื่อไร โรงเรียนย่อมจัดการสอนตามความเหมาะสม ซึ่งส่วนมากก็จะมีการสอบปลายภาค และสอบปลายปีการศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงการประเมินเมื่อไรและอย่างไร ขอแบ่งการประเมินผลออกเป็น 2 ประการ ดังนี้
1. การประเมินผลย่อย (Formative evaluation)
2. การประเมินผลรวม (Summative evaluation)
การประเมินผลย่อย ลักษณะของการประเมินผลย่อย มีดังนี้
1. เป็นการแบ่งวิชาออกเป็นหน่อยย่อยหลายๆหน่วย ซึ่งแต่ละหน่วยอาจใช้เวลาเรียน 1-2สัปดาห์ แต่ละหน่วยนั้นอาจเป็นบทเรียนบทหนึ่ง
เมื่อจบตอนแล้วก็มีการออกข้อทดสอบย่อย
2. จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการประเมินผลย่อย
ไม่ใช่การใช้เกรดที่จะไปตัดสินได้ตกหรือเกี่ยวกับการเลื่อนชั้น
แต่ควรจะเป็นการช่วยนักเรียนและครูปรับปรุงการเรียนการสอน
เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงการประเมินผลย่อยนี้กระทำในระหว่างที่ครูกำลังดำเนินการสอนอยู่
และควรทำต่อเนื่องกันไปโดยสม่ำเสมอ เมื่อพบข้อบกพร่องตอนใดก็แก้ไขได้ทันท่วงที
3. ควรจะสร้างแบบทดสอบเพื่อวินิจฉัยความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นระยะๆ
เพื่อตรวจดูว่านักเรียนสามารถเรียนรู้ได้มากน้อยเพียงใด
และเมื่อรู้ข้อบกพร่องคราวต่อไปก็ควรจะได้ชี้แจงหรืออธิบายเพิ่มเติม
4. การทดสอบย่อย ควรจะได้กระทำก่อนที่จะสอนใหม่ หรือควรจะทดลอบเกี่ยวกับทักษะ
และความคิดรวบยอดในด้านต่างๆ ก่อนที่จะมีการทดสอบรวม
5. การทดสอบย่อย
เป็นประโยชน์ในการที่จะรวบรวมผลและข้อบกพร่องต่างๆไว้ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสร้างหลักสูตรใหม่
6. ผู้ที่ใช้การประเมินผลแบบนี้ ควรจะตรวจดูว่าผลของการประเมินตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้หรือไม่
แต่อย่างไรก็ตาม
การออกข้อสอบแต่ละหน่วยหรือบทนั้นอาจจะวัดพฤติกรรมไม่ได้ครบทุกอย่าง
7. การประเมินผลย่อมจะเป็นเครื่องช่วยกระตุ้นให้นักเรียนเกิดการแข่งขัน
และเรียนด้วยความตั้งใจอยู่เสมอ
8. การประเมินผลย่อยจะช่วยนักเรียนได้มาก
เพราะเป็นการแบ่งขั้นการเรียนรู้ออกเป็นหน่วยย่อยตามลำดับ
จะทำให้นักเรียนเลิกวิตกกังวล
เพราะเมื่อนักเรียนไม่ทราบตรงจุดไหนครูก็อธิบายเพิ่มเติมหรือทบทวนเสียก่อน
9. การประเมินผลย่อยมิได้มุ่งแบ่งแยกนักเรียน แต่มุ่งที่จะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
10. ในการสร้างข้อทดสอบย่อยนั้น ไม่ต้องการความรู้ใหม่
หรือทักษะที่ผิดปกติอย่างใด
แต่จะเป็นการสร้างคำถามที่เรียงตามลำดับความสำคัญของพฤติกรรมการเรียนรู้และตามลำดับการสอนของครู
การประเมินผลรวม ลักษณะของการประเมินผลรวม มีดังนี้
1. เป็นการประเมินผลรวมทั้งหมดของหลักสูตร
หรือเมื่อจบวิชาหนึ่ง ใช้ในการสอบไล่เพื่อเลื่อนชั้น หรือให้ประกาศนียบัตร
เป็นการประเมินคำที่ใช้ตอนสิ้นเทอมหรือปลายปี หรือเรียนครบวิชา ครบโปรแกรม
ใช้ประเมินผลความก้าวหน้าหรือวินิจฉัยเกี่ยวกับผลของหลักสูตรหรือผลของการศึกษา
หรือโครงการแห่งการศึกษา เป็นการประเมินผลเมื่อการเรียนการสอนสิ้นสุดลงแล้ว
2. จุดมุ่งหมายของการประเมินผลรวม คือ
ให้มีการทดสอบรวมและให้คะแนนเพื่อนำไปตัดสินการได้ตกหรือเลื่อนชั้นนักเรียน
3. การประเมินผลรวมนี้ใช้เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ตลอดปี
หรือตลอดเทอมของนักเรียนเป็นรายบุคคล
4. การประเมินผลรวม จะมีการทดสอบสองหรือสามครั้งในแต่ละวิชา
ซึ่งโดยปกติมักจะทำปลายภาคปละปลายปี
5. การประเมินผลรวมนี้ใช้ในการพิจารณาเริ่มต้นการสอนของวิชาที่จะสอนสืบต่อกันไป
6. การประเมินผลรวม มุ่งในการวัดผลทั่วๆไป
ทั้งวิชาจะประเมินผลได้อย่างกว้างขวาง
และวัดพฤติกรรมต่างๆได้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้งไว้
เอกศักดิ์
บุตรลับ (2537 : 389 – 395) ได้รวบรวมเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียนรู้ไว้ดังนี้
การประเมินผล
(Evaluation)
กรมสามัญศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ (2522 : 1) ให้ความหมายไว้ว่า
การประเมินผล หมายถึงกระบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดว่า
เป็นที่ต้องประสงค์หรือมีค่านิยมถูกต้องหรือไม่มากน้อยเพียงใด
การประเมินผลจำเป็นต้องมีเป้าหมายหรือเกณฑ์ไว้ก่อนแล้ว
จึงนำข้อมูลที่ได้จากการวัดนั้นมาประเมินในทิศทางตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ (2521
:6) กล่าวว่า การประเมินผลเป็นกระบวนการที่กระทำต่อจากการวัดผล
และวินิจฉัย ตัดสิน สรุปคุณค่าที่ได้จากการวัดอย่างมีหลักเกณฑ์
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์
และอเนกกุล กรีแสง (2517 : 7) ให้ความหมายการประเมินผลเป็นการใช้ วิจารณญาณตัดสินคุณค่า
โดยอาศัยการวัดผลเป็นเครื่องช่วย
จุดประสงค์ของการวัดผลและประเมินผลการศึกษา
ในการวัดผลและประเมินผลการศึกษานั้น
มีจุดประสงค์ที่สำคัญดังนี้ (ลำพอง บุญช่วย ม.ป.ป. :214-215)
1. เพื่อการคัดเลือก (Selecion) การพิจารณารับนักเรียนเข้าเรียน
ต้องอาศัยการวัดผลและประเมินผลกรรมเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่สุด
2. เพื่อจำแนกบุคคล (Classification) การจำแนกบุคคลออกเป็นพวกเก่งอ่อน สอบได้ สอบตก หรือการให้เกรดเป็น A
B C D E ก็ต้องอาศัยการวัดผลประเมินผลทั้งสิ้น
3. เพื่อวินิจฉัย (Diagnosis) การวัดผลและประเมินผลจะช่วยให้ครูสามารถวินิจฉัยได้ว่า เด็กคนใดเก่ง
อ่อนด้านใด ซึ่งทำให้มองเห็นวิธีแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆได้
4. เพื่อประเมินความก้าวหน้า (Assessment) การที่จะทราบได้ว่าผู้เรียนมีความเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมไปจากเดิมหรือไม่
เพียงใดนั้น จำเป็นต้องอาศัยการวัดผลประเมินผลเป็นเครื่องชี้
โดยมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วนำมาเปรียบเทียบกันดู
ก็จะทำให้ทราบความก้าวหน้าของผู้เรียนได้
5. เพื่อทำนาย (Prediction) การวัดผลและประเมินผลช่วยให้ได้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับผู้เรียน
ซึ่งสามารถนำมาประกอบในการพิจารราว่า นักเรียนคนใดควรเรียนอะไร ได้ดีในอนาคต
ซึ่งจำเป็นสำหรับการแนะแนวเป็นอย่างยิ่ง
6. เพื่อจูงใจในการเรียนรู้ (Motivating Learning) การวัดผลและประเมินผลเป็นวิธีการอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียน
เกิดความพยายาม โดยเฉพาะเมื่อมีการทดสอบแล้ว
ผู้เรียนได้ทราบผลการสอบของตนย่อมทำให้เกิดความกระตือรือร้นในการเรียน
7. เพื่อประเมินวิธีการสอนของครู (Evaluation of Treatment) การวัดผลและประเมินผลที่ดีจะต้องวัดผลทั้งตัวผู้เรียนและตัวครู
ทั้งนี้เพราะการที่ผู้เรียนไม่ประสบความสำเร็จ
อาจเกิดจากวิธีการสอนของครูที่ใช้ไม่ดี วัสดุอุปกรณ์ไม่เหมาะสม
ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลวิธีการสอนของครูจึงมีความจำเป็น
8. เพื่อรักษามาตรฐาน (Maintaining Standard) ในการผลิตกำลังคนของสถาบันต่างๆ จำเป็นต้องคำนึงถึงคุณภาพ
วิธีการอันหนึ่งที่จะใช้ในการรักษามาตรฐานก็ได้แก่ การวัดผลและประเมินผลนั่นเอง
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
เป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ
คือ (กรมสามัญศึกษา 2522 :8)
1. การประเมินผลช่วยการตัดสินใจในด้านการเรียนการสอน ผลที่ได้จากกระบวนการวัดผลและประเมินผล
จะเป็นข้อมูลย้อนกลับที่นำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
2. การประเมินผลช่วยตัดสินใจในด้านการแนะแนว ปกตินักเรียนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ
การเลือกอาชีพ และปัญหาส่วนตัวอยู่เสมอ ซึ่งการวัดผลจะช่วยในเรื่องนี้ได้
ด้วยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ
3. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการบริหาร การประเมินผลการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า
ควรจะแก้ไขปรับปรุงกลไกการบริหารงานของสถานศึกษาอย่างไร
4. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการวิจัย การวิจัยในด้านการเรียนการสอน
การแนะแนวและการบริหาร ย่อมต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการวัดผลและประเมินผล
หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยได้ด้วย
ประเภทของการประเมินผล
การจำแนกประเภทของการประเมินผลนั้น
จะจำแนกออกเป็นกี่ประเภทขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง โดยทั่วๆ
ไปแล้วมีเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่งประเภทของการประเมินผลอยู่ 2 เกณฑ์
1. จุดประสงค์ของการประเมินผล แบ่งออกได้เป็น
1.1 การประเมินผล เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน (Formative
Evaluation)
1.2 การประเมิล เพื่อตัดสินผลการเรียน (Summative
Evaluation)
2. จำแนกตามระบบการวัดผล แบ่งออกได้เป็น
2.1 การประเมินผลแบบอิงกลุ่ม (Norm-referenced
Evaluation)
2.2 การประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ (Criterion-referenced
Evaluation)
ความหมายของการวัดผล
การทดสอบ และการประเมินผล
การวัดผลการ
(Measurement) หมายถึง
กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์เช่น นายแดงสูง 180 ซม. (เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง)วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก.ก (เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง)
การทดสอบการศึกษา
หมายถึง กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล
โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล
(Evaluation) หมายถึง การตัดสิน
หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180 ซม.
ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมากผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก.ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา- ไม่เอา
บลูม
(Bloom) และคณะ
ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด (วัดด้านสมอง)
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด (วัดด้านจิตใจ)
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
(วัดด้านการปฏิบัติ)
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร
แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย
หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง
หมายถึง
การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า
ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์
หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล
หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน
หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
มาตราการวัด
1. มาตรานามบัญญัติ
เป็นมาตรการวัดที่ใช้กับข้อมูลเป็นเพียงการเรียกชื่อ
หรือจำแนกชนิดหรือสัญลักษณ์กับสิ่งต่าง ๆ ไม่สามารถบอกปริมาณมากน้อยได้
แสดงให้เห็นเพียงความแตกต่างของสิ่งต่าง ๆ เช่นการจำแนกคนเป็นเพศหญิง-ชาย
หมายเลขโทรศัพท์ ทะเบียนรถ
2. มาตราเรียงอันดับ
สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ หรือเป็นการจัดอันดับข้อมูลได้ว่ามาก - น้อย
สูง-ต่ำดี-ชั่ว
3. มาตราอันตรภาค
สามารถบอกความห่างระหว่างสองตำแหน่งได้ เช่น การวัดอุณหภูมิ หรือเซลเซียส
4. มาตราสัดส่วน
เป็นมาตราการวัดที่มีลักษณะสมบูรณ์ทุกอย่าง มีศูนย์แท้ ซึ่งแปลว่าไม่มีอะไร
หรือเริ่มต้นจาก 0เช่น ความสูง 0 นิ้ว ก็แปลว่าไม่มีความสูง หรือน้ำหนัก 0 กิโลกรัม
ก็เท่ากับไม่มีน้ำหนัก
หลักการวัดผลการศึกษา
1. ต้องวัดให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
คือ การวัดผลจะเป็นสิ่งตรวจสอบผลจากการสอนของครูว่า
นักเรียนเกิดพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายการสอนมากน้อยเพียงใด
2. เลือกใช้เครื่องมือวัดที่ดีและเหมาะสม
การวัดผลครูต้องพยายามเลือกใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ ใช้เครื่องมือวัดหลาย ๆ
อย่าง เพื่อช่วยให้การวัดถูกต้องสมบูรณ์
3. ระวังความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของการวัด
เมื่อจะใช้เครื่องมือชนิดใด ต้องระวังความบกพร่องของเครื่องมือหรือวิธีการวัดของครู
4. ประเมินผลการวัดให้ถูกต้อง
เช่น คะแนนที่เกิดจาการสอนครูต้องแปลผลให้ถูกต้องสมเหตุสมผลและมีความยุติธรรม
5. ใช้ผลการวัดให้คุ้มค่า
จุดประสงค์สำคัญของการวัดก็คือ เพื่อค้นและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน
ต้องพยายามค้นหาผู้เรียนแต่ละคนว่า เด่น-ด้อยในเรื่องใด
และหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขแต่ละคนให้ดีขึ้น
http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่าการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ความหมายของการวัดผล
การทดสอบ และการประเมินผล การวัดผลการ ( Measurement)หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ
โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์
เช่น นายแดงสูง 180 ซม . ( เครื่องมือ คือ ที่วัดส่วนสูง ) วัตถุชิ้นนี้หนัก 2 ก .
ก ( เครื่องมือ คือ เครื่องชั่ง ) การทดสอบการศึกษา หมายถึง
กระบวนการวัดผลอย่างหนึ่งที่กระทำอย่างมีระบบเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบความสามารถของบุคคล
โดยใช้ข้อสอบหรือคำถามไปกระตุ้นให้สมองแสดงพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา
การประเมินผล
( Evaluation) หมายถึง การตัดสิน
หรือวินิจฉัยสิ่งต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดผลเช่น ผลจากการวัดความสูงของนายแดงได้ 180
ซม . ก็อาจประเมินว่าเป็นคนที่สูงมาก ผลจากการชั่งน้ำหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งได้ 2 ก
. ก ก็อาจจะประเมินว่าหนัก - เบา หรือ เอา – ไม่เอา
ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1.
วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง )
2.
วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ )
3.
วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ
ของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1.
วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง
การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร
แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญ
งอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2.
วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า
ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3.
วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง
การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า
ใครควรได้อันที่ 1 2 3
วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน
หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน
และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน 5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต 6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน
หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่า มีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ
ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
สรุปได้ว่า การประเมินผลเป็นขบวนการพิจารณาตัดสินใจในข้อมูลที่ได้จากการวัดผลว่า สิ่งนั้นหรือบุคคลนั้นดีหรือเลว เก่งหรืออ่อน สอบได้หรือสอบตก เป็นต้น การวัดผลการ ( Measurement)หมายถึง กระบวนการหาปริมาณ หรือจำนวนของสิ่งต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง ผลจากการวัดจะออกมาเป็นตัวเลข หรือสัญลักษณ์ลักษณะพฤติกรรมที่ต้องวัด บลูม ( Bloom) และคณะ ได้แบ่งพฤติกรรมที่จะวัดออกเป็น 3 ลักษณะ
1. วัดพฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับ ความรู้ ความคิด ( วัดด้านสมอง )
2. วัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด ( วัดด้านจิตใจ )
3. วัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ได้แก่ การวัดเกี่ยวกับการใช้กล้ามเนื้อ และประสาทสัมผัสส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ( วัดด้านการปฏิบัติ )
จุดมุ่งหมายของการวัดผลการศึกษา
1. วัดผลเพื่อและพัฒนาสมรรถภาพของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อดูว่านักเรียนบกพร่องหรือไม่เข้าใจในเรื่องใดอย่างไร แล้วครูพยายามอบรมสั่งสอนให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเจริญงอกงามตามศักยภาพของนักเรียน
2. วัดผลเพื่อวินิจฉัย หมายถึง การวัดผลเพื่อค้นหาจุดบกพร่องของนักเรียนที่มีปัญหาว่า ยังไม่เกิดการเรียนรู้ตรงจุดใด เพื่อหาทางช่วยเหลือ
3. วัดผลเพื่อจัดอันดับหรือจัดตำแหน่ง หมายถึง การวัดผลเพื่อจัดอันดับความสามารถของนักเรียนในกลุ่มเดียวกันว่าใครเก่งกว่า ใครควรได้อันที่ 1 2 3
4. วัดผลเพื่อเปรียบเทียบหรือเพื่อทราบพัฒนาการของนักเรียน หมายถึง การวัดผลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถของนักเรียนเอง เช่น การทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียนแล้วนำผลมาเปรียบเทียบกัน
5. วัดผลเพื่อพยากรณ์ หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้ไปคาดคะเนหรือทำนายเหตุการณ์ในอนาคต
6. วัดผลเพื่อประเมินผล หมายถึง การวัดเพื่อนำผลที่ได้มาตัดสิน หรือสรุปคุณภาพของการจัดการศึกษาว่ามีประสิทธิภาพสูงหรือต่ำ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร
ประโยชน์ของการวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผลการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ คือ (กรมสามัญศึกษา 2522 :8)
1. การประเมินผลช่วยการตัดสินใจในด้านการเรียนการสอน ผลที่ได้จากกระบวนการวัดผลและประเมินผล จะเป็นข้อมูลย้อนกลับที่นำมาใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอน
2. การประเมินผลช่วยตัดสินใจในด้านการแนะแนว ปกตินักเรียนมักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการศึกษาต่อ การเลือกอาชีพ และปัญหาส่วนตัวอยู่เสมอ ซึ่งการวัดผลจะช่วยในเรื่องนี้ได้ ด้วยการใช้แบบทดสอบชนิดต่างๆ
3. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการบริหาร การประเมินผลการเรียนการสอนจะช่วยให้ผู้บริหารทราบว่า ควรจะแก้ไขปรับปรุงกลไกการบริหารงานของสถานศึกษาอย่างไร
4. การประเมินผลช่วยตัดสินใจด้านการวิจัย การวิจัยในด้านการเรียนการสอน การแนะแนวและการบริหาร ย่อมต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานจากการวัดผลและประเมินผล หรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิจัยได้ด้วย
ประเภทของการประเมินผล
อ้างอิง
http://www.slideshare.net/ssusera4dfe0/ss-9345840. การประเมินผลการเรียนรู้. เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2558.
ยุพิน
พิพิธกุล. (ม.ป.ป.). การสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กรุงเทพการพิมพ์.
เอกศักดิ์ บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). เพชรบุรี : สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น