วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2558

องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้


        ไพศาล  หวังพานิช (http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.htmlได้กล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า
             การสอนเป็นกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของการจัดการศึกษา  เพราะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลตามที่มุ่งหวังไว้  คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่เพียงใดนั้นย่อมเป็นผลโดยตรงจากการสอนเป็นประการสำคัญ  ดังนั้นในการสอนแต่ละครั้งไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาใดก็ตาม ควรจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนดังนี้
        1. จุดมุ่งหมายการสอน  ก่อนจะเริ่มต้นสอนครูผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตร  แล้วกำหนดจุดมุ่งหมายของการสอนให้ชัดเจนว่า  หลังจากสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว  ครูผู้สอนประสงค์จะให้นักเรียนเรียนรู้อะไรบ้าง  และมีความสามารถทำอะไรได้บ้าง  จุดมุ่งหมายในการสอนควรกำหนดให้อยู่ในรูปของจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม(Behavioral  Objectives) ซึ่งสามารถสังเกตได้และวัดได้
        2. พฤติกรรมพื้นฐานของผู้เรียน ก่อนที่ครูจะทำการสอนในเรื่องใด หากครูได้ทราบสภาพพื้นฐานของผู้เรียนก่อน ก็จะทำให้สามารถจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่  
        3. การเรียนการสอน  เป็นขั้นตอนที่ครูจะทำการสอนในเนื้อหาวิชาจริง ๆ ครูผู้สอนอาจเลือกใช้เทคนิควิธีสอนต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับวัย  และสภาพพื้นฐานของผู้เรียน  โดยคำนึงถึงลักษณะของเนื้อหาวิชาด้วยว่า  จะแบ่งเนื้อหาวิชาเป็นหน่วยย่อยได้อย่างไร  หน่วยย่อยใดควรสอนก่อนหรือหลัง  และเนื้อหาในแต่ละหน่วยย่อยนั้นจะใช้อุปกรณ์ชนิดใดเข้าช่วย
        4. การวัดและประเมินผล  เป็นการตรวจสอบผลการเรียนการสอนเพื่อจะได้ทราบว่าภายหลังจากผ่านการเรียนการสอนแล้ว  ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ดีขึ้นเพียงไร  อยู่ในเกณฑ์น่าพอใจหรือไม่โดยเทียบกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่ครูกำหนดไว้ก่อนการเรียนการสอน


             เอกศักดิ์ บุตรลับ(2537 : 210) ได้กล่าวองค์ประกอบการเรียนรู้ไว้ว่า องค์ประกอบที่เป็นตัวป้อนในระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนอื่นๆ หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน
            1.ครู เป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งที่จะทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
            2.เรียน เป็นองค์ประกอบทีมีความสำคัญและจะขาดมิได้ เพราะถ้าหากไม่มีผู้เรียนแล้ว การสอนก็จะไม่เกิดขึ้น
            3.หลักสูตร เนื่องจากหลักสูตรเป็นสื่อกลางที่จะนำนักเรียนไปสู่จุดหมายปลายทางทีสังคมได้คาดหวังไว้ ดัง
            4.สิ่งแวดล้อมทางการเรียน ได้แก่ การจัดห้องเรียน การจัดเวลาเรียน การเลือกแหล่งวิทยาการ และการบริการสนับสนุนการเรียนการสอน



           http://acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf ได้รวบรวมและกล่าวถึงองค์ประกอบการจัดการเรียนรู้ไว้ว่าองค์ประกอบ 3 ประการคือ
      1. ผู้เรียน
      2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้
       3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน

ถ้าองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ทั้ง 3 ประการนี้ดำเนินไปได้ด้วยดีจะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้อย่างมาก องค์ประกอบดังกล่าวมีรายละเอียดดังนี้

               1. ผู้เรียน   ธรรมชาติของผู้เรียนเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เกี่ยวกับความสามารถทางสมอง ความถนัด ความสนใจ พัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ ความต้องการพื้นฐานเป็นสิ่งที่ผู้สอนจะต้องคำนึงถึง และจะละเลยไม่ได้

              2. บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้   ผู้สอนเป็นส่วนที่สำคัญและเป็นส่วนหนึ่งที่จะกำหนดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เป็นไปในรูปแบบที่ต้องการ ความเป็นประชาธิปไตย ความเคร่งเครียด ความชื่นบานของผู้เรียน สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้โดยผู้สอนเป็นผู้กำหนด แต่ถึงกระนั้นก็ตามบรรยากาศในชั้นเรียนยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกนอกเหนือไปจากตัวผู้สอน คือ ผู้เรียนเข้าชั้นเรียนโดยไม่ได้รับประทานอาหารเช้า หรืออาหารกลางวัน ผู้เรียนเริ่มเรียนชั่วโมงแรกด้วยความรู้สึกหิวหรือบางครั้งผู้เรียนได้รับสิ่งกระทบกระเทือนใจติดตามมาเนื่องจากความไม่ปรองดองในครอบครัว เป็นต้น  ส่วนทางด้านตัวผู้สอนนั้นอาจจะมีความกดดันจากฝ่ายบริหารหรือจากครอบครัว เศรษฐกิจ อาหารเช้าก่อนมาสถานศึกษาของผู้สอนมีเพียงน้ำแก้วเดียวเท่านั้น สิ่งที่นำมาก่อนเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่ผู้สอนและผู้เรียนจะมาพบกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะบ่งได้ว่าบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียนที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้จะปรากฏออกมาในรูปแบบใด

             3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนจะเป็นเครื่องชี้บ่งถึงเงื่อนไขหรือสถานการณ์ว่าผู้เรียนจะประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวต่อการเรียนรู้ ผู้สอนควรจะคิดถึงผู้เรียนในฐานะเป็นบุคคลหนึ่ง ผู้เรียนมีสิทธิที่จะได้รับความต้องการพื้นฐาน และผู้สอนจะต้องหากลวิธีที่จะตอบสนองต่อความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และผู้สอนควรจะฝึกให้มีความรู้สึกไวต่อความรู้สึกนึกคิดของผู้เรียน เพื่อความสำเร็จแห่งการเรียนรู้และการเจริญเติบโตเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ต่อไป




              จากข้างต้นสามารถสรุปได้ดังนี้องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนการจัดการเรียนรู้ได้แก่ ครู นักเรียน บุคลากรในโรงเรียนอื่นๆ หลักสูตร และสิ่งแวดล้อมทางการเรียน  จุดมุ่งหมายการสอน  การวัดและประเมินผล    บรรยากาศทางจิตวิทยาที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้    ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบรรยากาศทางจิตวิทยาในชั้นเรียน คุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่เพียงใดนั้นย่อมเป็นผลโดยตรงจากการสอนเป็นประการสำคัญ 




อ้างอิง


ไพศาล  หวังพานิช.[Online].  http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/webpili/unit1/level1-1.html .องค์ประกอบพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอน. เข้าถึงเมื่อ 17  กันยายน  2558.

 http://acad.vru.ac.th/pdf-handbook/Hand_Teacher.pdf . คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง.เข้าถึงเมื่อ 17  กันยายน  2558.

เอกศักดิ์ บุตรลับ.(2537).ครูและการสอน.เพชรบุรี:สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น