วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

การเรียนรู้


ความหมายของการเรียนรู้

เสรี วงษ์มณฑา (  https://www.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056  )ได้กล่าวว่า 
         การเรียนรู้ (learning) คือการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมี 3 ด้านคือ 
 1 ด้านสมอง (cognitive change) คือไม่รู้ได้รู้ ไม่เข้าใจได้เข้าใจ ไม่ตระหนักได้ตระหนัก
 2. ด้านความรู้สึก (affective change) คือไม่ชอบเป็นชอบ ชอบน้อยเป็นชอบมาก ชอบเป็นไม่ชอบ เกลียด  น้อยเป็นเกลียดมาก
 3. ด้านพฤติกรรม (conative change) คือทำไม่เป็นกลายเป็นทำเป็น ทำไม่เก่งเป็นทำเก่ง ไม่เคยทำหันมา  ทำ เคยทำอยู่แล้วเลิกทำ เคยนานๆทำทีกลายเป็นทำบ่อยๆ



https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99  ได้รวบรวบความหมายของการเรียนรู้ไว้ว่า
            การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงใจ ที่เป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ และอาจเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์สารสนเทศชนิดต่าง ๆ ผู้ประมวลทักษะของการเรียนรู้เป็นได้ทั้ง
มนุษย์ สัตว์ และเครื่องจักรบางชนิด ความก้าวหน้าในการเรียนรู้เมื่อเทียบกับเวลามีแนวโน้มเป็นเส้นโค้งแห่งการเรียนรู้ (learning curve)

              การเรียนรู้ หมายถึง พัฒนาการรอบด้านของชีวิต มีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลาย มีพลังขับเคลื่อนเชื่อมโยงสัมพันธ์กันอย่างผสมกลมกลืนได้สัดส่วน สมดุลกัน เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคมการเรียนรู้ มีความหมายครอบคลุมถึงขั้นตอนต่อไปนี้คือ 
      1. การรับรู้ (Reception) หมายถึง การที่ผู้คน รับเอาข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ต่างๆ จากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย ซึ่งรวมทั้งแหล่งความรู้จากครูผู้สอนด้วย 
      2. การเข้าใจ (Comprehension) หมายถึง การที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นถึงความหมายและความเชื่อมโยงสัมพันธ์กันของสิ่งต่างๆ ที่ตนเองรับรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายในระดับที่สามารถอธิบายเชิงเหตุผลได 

    3. การปรับเปลี่ยน (Transformation) เป็นระดับของการเรียนรู้ที่แท้จริง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านวิธีคิด (Conceptualization) การเปลี่ยนแปลงระบบคุณค่า (Values) และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior) ในสิ่งที่รับรู้และมีความเข้าใจแล้วเป็นอย่างดี.

                 จากข้างต้นพอสรุปได้ว่า การเรียนรู้ หมายถึง การได้รับสิ่งต่างๆรอบตัวที่เป็นสิ่งที่แปลกใหม่หรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่ซึ่งมีองค์ประกอบ ปัจจัย และกระบวนการที่หลากหลายเราต้องเข้าใจและปรับเปลี่ยนเพื่อนำมาพัฒนาให้ชีวิตก้าวหน้าทำให้เกิดความสมบูรณ์ของชีวิตและสังคม

ที่มา:

                เสรี วงษ์มณฑา.[Online]  https://www.facebook.com/seri.wongmonta/posts/592724210766056  . 
การเรียนรู้ (learning).เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2558.
   https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99.การเรียน.เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2558.












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น